หลักการออกแบบ

หลักการออกแบบ

1. ดุลยภาพหรือความสมดุล (Balance)
การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน 

ผลงาน ชุด ธรรมปรัญา : เทวานุภาพ” 
โดย สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์

                ความสมดุลเป็นหลักแรกที่มนุษย์รู้จัก เพราะตั้งแต่เกิด ก็พบว่าตัวเรามีด้านซ้ายและด้านขวาเหมือนกัน ดังนั้นมนุษย์จึงนิยามว่าอะไรที่มีเหมือนกัน 2 ข้าง นั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม ดุลยภาพ หรือความสมดุล แบ่งออกเป็น
                1.1 สมดุลแบ่งออกเป็น เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง (Symmetrical Balance)คือ ทั้งซ้ายและขวาเท่ากัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคง หนักแน่น ยุติธรรม เป็นการเป็นงาน เช่น เสื้อของสตรีที่มีแขนเสื้อทั้ง 2 ข้างมีความยาวและขนาดใหญ่เท่ากัน
                1.2 สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical Balance) ทั้งซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่ดูแล้วเกิดสมดุลหรือความถ่วงสมดุล (ดูแลเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา) เช่น
                        1. สมดุลด้วยน้ำหนัก และขนาดของรูปร่างรูปทรง
                        2. สมดุลด้วยค่าน้ำหนักความแก่อ่อนของสี
            
(ภาพ "No 000" โดย สมใจ ภัติศิริ)
 2.เอกภาพ (Unity)
                เอกภาพ คือการจักวางองค์ประกอบทั้งหมด เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มก้อน กลมกลืนกัน อาจจะกระจัดกระจายบ้างแต่ก็ยังดูให้ความรู้สึกว่า ยังเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นเรื่องราวเดียวกัน การสร้างเอกภาพ สามารถสร้างได้หลายวิธีดังนี้
                2.1วิธีสัมผัส คือการนำรูปร่างรูปทรง มาสัมผัสกันในลักษณะต่างๆเช่น
- การสัมผัสด้านต่อด้าน
- การสัมผัสมุมต่อมุม
- การสัมผัสมุมต่อด้าน


                2.2 วิธีทับซ้อน คือการนำรูปร่างรูปทรง มาทับซ้อนกันในลักษณะต่างๆ เช่น

- การทับซ้อนแบบบางส่วน
- การทับซ้อนแบบเต็มรูป


- การทับซ้อนแบบคาบเกี่ยว

- การทับซ้อนแบบลูกโซ่
- การทับซ้อนแบบสาน
- การทับซ้อนแบบหลายชั้น
                   2.3 วิธีการจัดกลุ่ม คือการทับซ้อนที่นำรูปร่างรูปทรง มาจัดวางให้ทับซ้อน ซึ่งกันและกัน อย่างอิสระ เมื่อมองในภาพรวมๆ แล้วจะเห็นภาพของรูปร่างรูปทรงนั้นอยู่ในกรอบรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงอิสระในลักษณะต่างๆ
   3. จังหวะ (Rhythm)
                จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องหรือซ้ำซ้อน กัน จังหวะที่ดีจะทำให้ภาพดูสนุกสนานเปรียบได้กับเพลง ในด้านการออกแบบแบ่งจังหวะออกเป็น 3 แบบคือ
                3.1 จังหวะแบบเหมือนซ้ำกัน (Repetition) เป็นการนำเอาองค์ประกอบ หรือรูปที่เหมือน ๆ กันมาจัดวางเรียงต่อกัน ทำให้ดูมีระเบียบ (Order) แต่ถ้ามากไปก็น่าเบื่อ
                3.2 จังหวัดแบบสลับกันไป (Alternation) เป็นการนำเอาองค์ประกอบที่ต่างกันมาสลับกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สนุก มีรสชาติกว่าแบบแรก
                3.3 จังหวะซ้ำจากเล็กไปใหญ่หรือใหญ่ไปเล็ก (Gradation) ป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือนกันมาเรียงต่อกัน อาจเรียงจากใหญ่มาเล็ก หรือจากเล็กไปหาใหญ่ ทำให้ภาพดูมีมิติขึ้น
 4.  ความกลมกลืน (Harmony)
                คือนำองค์ประกอบต่างๆ มาจัดให้ประสานกลมกลืน สอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้ง แตกแยก เกิดความนุ่มนวล เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ความกลมกลืนกันเกิดขึ้นได้จากหลายลักษณะได้แก่
                1. กลมกลืนด้วยทิศทางของเส้น 
                2. กลมกลืนด้วยขนาดและสัดส่วน 
                3. กลมกลืนด้วยรูปทรง และรูปร่าง 
                4. กลมกลืนด้วยวัสดุ และพื้นผิว 
                5. กลมกลืนด้วยน้ำหนักอ่อนแก่ 
                6. กลมกลืนด้วยสี 
                7. กลมกลืนด้วยเนื้อหา

(ภาพ "ชายป่า" โดย สมใจ ภัติศิริ)
  5. การขัดแย้ง (Contrast)
                ความขัดแย้ง คือการจัดองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อให้เกิดความสนุกตื่นเต้น ลดความเรียบ น่าเบื่อ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเป็นเอกภาพ คือต้องไปได้ทั้งภาพ ดูแลไม่ขัดตา ความขัดแย้ง แบ่งไว้ดังนี้
                1. ขัดแย้งกันด้วยทิศทางของเส้น
                2. ขัดแย้งด้วยขนาดและสัดส่วน
                3. ขัดแย้งกันด้วยรูปทรงและรูปร่าง
                4. ขัดแย้งกันด้วยวัสดุ และพื้นผิว
                5. ขัดแย้งกันด้วยน้ำหนัก อ่อนแก่
                6. ขัดแย้งด้วยสี
                7. ขัดแย้งด้วยเนื้อหา

ความขัดแย้งในทิศทางของเส้น ลดพื้นที่ทิศทางหนึ่งให้น้อยลง

 (ภาพจาก มานิต เศรษฐ์ศิริ, การออกแบบ 1)
  6.จุดเด่น (Interesting Point)
                จุดเด่นหรือจุดสนใจ เป็นการจัดวางองค์ประกอบหลักของภาพ เน้นให้ภาพน่าสนใจ สะดุดตามากขึ้น ประกอบด้วย
                6.1 ส่วนประธานของภาพ (Dominance) จุดสำคัญที่สุด
                6.2 ส่วนรองประธาน (Subordination) จุดสำคัญรองลงมา
                6.3 ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดย่อย (Detail)
                การเน้นให้เกิดจุดเด่นในการออกแบบมีหลักและวิธีการเน้นดังนี้
                1. เน้นเรื่องความขัดแย้งด้วยหลักการ 
                2. เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น 
                3. เน้นด้วยการประดับตกแต่งหรือช่วยในการตกต่าง 
                4. เน้นด้วยการใช้สี เช่น สีสด สีเข้ม สีอ่อน สีจาง 
                5. เน้นด้วยความแตกต่างของเนื้อหา 
                6. เน้นด้วยขนาดรูปทรง รูปร่าง สัดส่วน น้ำหนัก วัสดุ พื้นผิว และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน



(ภาพ "ดอกไม้ป่า" โดย สมใจ ภัติศิริ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น